วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ความเป็นมาของตลาดน้ำสองแคว


ตลาดน้ำสองแควเรือนแพพิษณุโลกเป็นการริเริ่มให้มีการฟื้นฟูวิถีชุมชนริมน้ำ น่านซึ่งอดีตบริเวณริมน้ำน่านหน้าวัดเกาะแก้วบริเวณแม่น้ำแควน้อยไหลมาบรรจบ กับแม่น้ำน่านเป็นสถานที่จอดพักเรือสินค้าและเป็นท่าเทียบขนส่งสิ้นค้าที่ สำคัญ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมีการใช้เส้นทางถนนขนส่งสินค้าแทนการใช้เรือวิถี ชุมชนริมน้ำน่าน จึงค่อยๆจางหายไปหลงเหลือเพียงการทำการเกษตรริมน้ำดั่งเดิมที่ยังคงหลงเหลือ อยู่ อีกทั้งบริเวณแม่น้ำแควน้อยไหลมาบรรจบกับแม่น้ำน่านน่าจะถือได้ว่าเป็นตำนาน ของเมืองสองแคว เนื่องจากแม่น้ำน่านเป็นที่รู้จักของชุมชนเรียกว่า “ แควใหญ่” ส่วนแม่น้ำแควน้อยเป็นที่รู้จักของชุมชนว่า “ แควน้อย” บริเวณที่แม่น้ำสองสายไหลมาบรรจบกับชุมชนเรียกว่า “ ปากกระโชก” และเปลี่ยนเป็น “ ปากโทก” อันเป็นชื่อหมู่บ้านในเวลาต่อมา

จังหวัดพิษณุโลกเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่าเป็นเมืองที่มีบ้านเรือนแพเป็น สัญลักษณ์ แต่ในปัจจุบันบ้านเรือนแพบริเวณริมน้ำน่านในตัวเมืองได้มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านภูมิทัศน์และมลภาวะทางน้ำ บริเวณริมน้ำน่านที่มีแม่น้ำสองสายไหลมาบรรจบกัน ซึ่งมีทั้งประวัติศาสตร์แหล่งการค้าและความสมบูรณ์ทางด้านระบบนิเวศริมน้ำ จึงเหมาะสมสำหรับให้เป็นสถานที่พักผ่อนท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางน้ำและเยี่ยม ชมวิถีชุมชนดั่งเดิม แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่ยังคงหลงเหลืออยู่รวมทั้งการอนุรักษ์เรือนแพอัน เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลก ไว้พร้อมกับการอนุรักษ์รักษาระบบนิเวศของลำน้ำให้คงอยู่ยั่งยืนภายใต้การ พัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่ก้าวอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น